สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน
1. ด้านกายภาพ
องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านตะโก เป็น 1 ใน 8 ตำบล ของอำเภอห้วยราช จังหวัดบุรีรัมย์ ห่างจากอำเภอห้วยราช 5 กิโลเมตร และห่างจากจังหวัดบุรีรัมย์ประมาณ 16 กิโลเมตร ตามถนนโยธาธิการ สายห้วยราช – เมืองไผ่ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านตะโก ตั้งอยู่ที่ 86 หมู่ที่ 3 ตำบลบ้านตะโก อำเภอห้วยราช จังหวัดบุรีรัมย์ 1.2 ลักษณะภูมิประเทศ
สภาพพื้นที่ทั่วไปของตำบลบ้านตะโก เป็นพื้นที่ราบ มีลักษณะดินเป็นดินร่วนปนทราย ราบโล่งพื้นที่ส่วนใหญ่ใช้เป็นพื้นที่สำหรับทำการเกษตรและใช้เป็นพื้นที่ปลูกสร้างที่อยู่อาศัยภายในตำบลมีแหล่งน้ำธรรมชาติ ได้แก่ ห้วยตะโก (ห้วยจะเมิง) ไหลผ่านทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ฤดูฝนน้ำไหลหลากส่วนฤดูแล้งน้ำแห้งเป็นบางส่วน ไม่เพียงพอต่อการอุปโภคบริโภค และเพาะปลูก ในฤดูแล้ง
1.3 ลักษณะภูมิอากาศ
ลักษณะภูมิอากาศเป็นแบบมรสุม มี 3 ฤดู คือ
ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ - กลางเดือน พฤษภาคม
ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคม - กลางเดือนตุลาคม
ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่กลางเดือนตุลาคม - กลางเดือนกุมภาพันธ์
1.4 ลักษณะดิน
ดินเป็นดินร่วนปนทราย ราบโล่งพื้นที่ส่วนใหญ่ใช้เป็นพื้นที่สำหรับทำการเกษตรและใช้เป็นพื้นที่ปลูกสร้างที่อยู่อาศัยภายในตำบลมีแหล่งน้ำธรรมชาติ ได้แก่ ห้วยตะโก (ห้วยจะเมิง) ไหลผ่านทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ฤดูฝนน้ำไหลหลากส่วนฤดูแล้งน้ำแห้งเป็นบางส่วน ไม่เพียงพอต่อการอุปโภคบริโภค และเพาะปลูก ในฤดูแล้ง
1.5 ลักษณะแหล่งน้ำ
ในพื้นที่ตำบลบ้านตะโกบ้านตะโก มีแหล่งน้ำลำห้วยจำนวน 1 สายคือลำห้วยโชคกราด นอกนั้นจะเป็นสระน้ำสาธารณะ ในฤดูแล้งปริมาณน้ำไม่เพียงพอ
1.6 ลักษณะของไม้และป่าไม้
ไม่มีป่าไม้แต่มีต้นไม้ที่ชาวบ้านปลูกลักษณะของไม้เป็นไม้ยืนต้น ผลัดใบ ไม้เศรษฐกิจเช่น ยูคาลิปตัส
2. ด้านการเมือง/การปกครอง
2.1 เขตการปกครอง อาณาเขตติดต่อ :
ทิศเหนือ ติด อบต.สามแวง อำเภอห้วยราช จังหวัดบุรีรัมย์
ทิศใต้ ติด อบต. สนวน อำเภอห้วยราชและ เทศบาลตำบลสองชั้น อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์
ทิศตะวันตก ติด อบต.ห้วยราช และ ทต.ห้วยราช อำเภอห้วยราช จังหวัดบุรีรัมย์
ทิศตะวันออก ติด อบต.เมืองไผ่ อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์
พื้นที่ องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านตะโก อำเภอห้วยราช จังหวัดบุรีรัมย์มีเนื้อที่ประมาณ
19.80 ตารางกิโลเมตร ประมาณ 12.375 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่ 9 หมู่บ้าน ดังนี้
หมู่ที่ 1 บ้านตะโก ผู้ใหญ่บ้าน นายพราน นิพรรัมย์
หมู่ที่ 2 บ้านโสน ผู้ใหญ่บ้าน นายประสพ วิชัยรัมย์
หมู่ที่ 3 บ้านโคกโพธิ์ ผู้ใหญ่บ้าน นางสาวพิมพา นครศรี
หมู่ที่ 4 บ้านโชคกราด ผู้ใหญ่บ้าน นางอรุณศรี ติมอนรัมย์
หมู่ที่ 5 บ้านโชคดี ผู้ใหญ่บ้าน นายธนกร นิเวชรัมย์
หมู่ที่ 6 บ้านปรือเวง ผู้ใหญ่บ้าน นางฐิตารีย์ หงษ์สมศรี
หมู่ที่ 7 บ้านเกตุเหนือ ผู้ใหญ่บ้าน นายประสม กองรัมย์
หมู่ที่ 8 บ้านเกตุใต้ ผู้ใหญ่บ้าน นางสมใจ การรัมย์
หมู่ที่ 9 บ้านหนองกก กำนันตำบลบ้านตะโก นายละเอียด การรัมย์
2.2 การเลือกตั้ง
องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านตะโก แบ่งเขตเลือกตั้ง 1 เขต จำนวน 9 หมู่บ้าน สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลจำนวน 18 คน จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง (ข้อมูลเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2559) จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวน 2,410 คน มาใช้สิทธิเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนตำบล 2,070 คน คิดเป็นร้อยละ 85.89 ผู้มาใช้สิทธิเลือกสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลจำนวน 2,070 คน คิดเป็นร้อยละ 85.89 ปัจจุบันนายกองค์การบริหารส่วนตำบลและสมาชิกมาจากคำสั่ง คสช. และปัจจุบันยังไม่มีการเลือกตั้ง
ประชากร
3.1 ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนประชากรองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านตะโก มีประชากรตามทะเบียนราษฎรสิ้นสุด เดือน มีนาคม 2562 มีจำนวน 3,404 คน แยกเป็นชาย 1,666 คน หญิง 1,737 คน มีจำนวนครัวเรือนทั้งหมด 842 ครัวเรือนมีประชากรแฝง…2….คน ความหนาแน่นเฉลี่ย 171.92 คน/ตารางกิโลเมตร แยกเป็นหมู่บ้านได้ดังนี้
ตารางที่ 1 ข้อมูลประชากร
หมู่ที่ | บ้าน | จำนวน ครัวเรือน |
ประชากร | รวม | หมายเหตุ | |
ชาย (คน) | หญิง(คน) | |||||
1 | บ้านตะโก | 126 | 246 | 233 | 479 |
2 | บ้านโสน | 130 | 268 | 300 | 568 |
3 | บ้านโคกโพธิ์ | 92 | 189 | 171 | 360 |
รวม | 838 | 1,662 | 1,737 | 3,399 |
สภาพทางสังคม
4.1 การศึกษา ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านตะโกมีความพร้อมทางด้านการศึกษาสูง มีสถานศึกษาที่ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่อยู่ 3 แห่ง เป็นส่วนสำคัญในการเสริมสร้างศักยภาพของประชาชนในพื้นที่ให้สามารถปรับตัวได้เท่าทันความเจริญด้านต่าง ๆ ที่หลั่งไหลเข้ามาอย่างรวดเร็วปัจจุบันองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านตะโกยังไม่มีโรงเรียนในสังกัดแต่มีศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านตะโกจำนวน 2 แห่ง ไม่มีศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่ได้รับการถ่ายโอนจากหน่วยงานอื่นใด
ตารางที่ 2 โรงเรียนประถมศึกษา 3 แห่ง
ชื่อโรงเรียน | ปีการศึกษา | นักเรียนชาย | นักเรียนหญิง | รวม | หมายเหตุ |
โรงเรียนบ้านตะโกบำรุง | 2556 | 98 | 69 | 158 | |
2557 | 94 | 64 | 158 | ||
2558 | 87 | 63 | 150 | ||
โรงเรียนบ้านโชคกราด | 2556 | 64 | 62 | 126 | |
2557 | 58 | 60 | 118 | ||
2558 | 51 | 47 | 98 | ||
โรงเรียนบ้านเกต (สุตาประชาอุปถัมภ์) |
2556 | 63 | 59 | 112 | |
2557 | 60 | 58 | 118 | ||
2558 | 56 | 54 | 110 |
ข้อมูลศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านตะโก ได้จัดตั้งเอง มี 2 แห่ง ดังนี้
1. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านโสน จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2549 ตั้งอยู่ เลขที่ 107 หมู่ที่ 2 ต. บ้านตะโก อ.ห้วยราช จ. บุรีรัมย์ ปีงบประมาณ 2550 ได้รับรางวัลศูนย์พัฒนาเด็กเล็กดีเด่น ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และรางวัลศูนย์พัฒนาเด็กเล็กน่าอยู่ดีมากทุกปี ของสาธารณสุขอำเภอห้วยราช
2. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านเกตุใต้ จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 11 เมษายน 2550 ตั้งอยู่ เลขที่ 65
หมู่ที่ 8 ต. บ้านตะโก อ. ห้วยราช จ. บุรีรัมย์ ได้รับรางวัลศูนย์พัฒนาเด็กเล็กดีมาก ปี 2551-2552 ของสาธารณสุขอำเภอห้วยราช
4.2 สาธารณสุข
ประชาชนกรส่วนมากมีสุขภาพที่ดี มีการคัดกรองสุขภาพให้กับประชาชนกลุ่มเสี่ยง โรคที่มักเกิดแก่ประชากรในชุมชน เช่นกัน ได้แก่ โรคความดัน เบาหวาน ไต โรคไข้เลือดออก มือ-ปาก-เท้าในเด็ก และโรคอื่นๆ มีสถิติเข้ารับการรักษาพยาบาล ปัญหาคือประชาชนบางรายไม่ยอมไปคัดกรองหรือตรวจสุขภาพประจำปี องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านตะโกได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาคืออบรมให้ความรู้ทางด้านการวางแผนครอบครัว จัดตั้งศูนย์สาธารณสุขมูลฐานให้ครบทุกหมู่บ้าน อบรมให้ความรู้ด้านการโภชนาการ จัดหาวัสดุอุปกรณ์ในการป้องกันและแก้ไขโรคติดต่อสนับสนุนการทำบัตรประกันสุขภาพและสวัสดิการต่างๆ ให้ทั่วถึงทุกหมู่บ้าน
4.2.1 หน่วยงานด้านสาธารณสุข
- โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 2 แห่ง
- มีศูนย์สาธารณสุขมูลฐานชุมชน จำนวน 9 แห่ง
- อาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้าน จำนวน 9 กลุ่ม
4.3 อาชญากรรม
องค์การบริหารส่วนตำบลไม่มีเหตุอาชญากรรมเกิดขึ้น แต่ปัญหาที่พบเป็นประจำคือการทะเลาะวิวาทของกลุ่มวัยรุ่นโดยเฉพาะในสถานที่จัดงานดนตรี งานมหรสพ เป็นปัญหาที่ชุมชนได้รับผลกระทบเป็นอย่างมาก การแก้ไขปัญหา คือการแจ้งเตือนให้ผู้ปกครองดูแลบุตรหลานของตน ประชาสัมพันธ์ให้ทราบถึงผลกระทบ ผลเสียหาย และโทษที่ได้รับจากการเกิดเหตุทะเลาะวิวาท การขอความร่วมมือไปยังผู้นำ การขอกำลังจาก ตำรวจ ผู้นำ อปพร. เพื่อระงับเหตุไม่ให้เกิดความรุนแรง
4.4 ยาเสพติด
สถานการณ์ยาเสพติดในชุมชน จากการที่ศูนย์ต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติดอำเภอห้วยราชแจ้งจำนวนผู้ที่ติดยาเสพติดมีน้อย และยังไม่พบผู้ค้า
4.5 การสังคมสงเคราะห์
องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านตะโก ได้ดำเนินการจัดสวัสดิการให้ผู้ด้อยโอกาสในสังคม เช่น ผู้ยากไร้ ผู้สูงอายุ เด็ก ผู้พิการ ผู้ ประสบปัญหาโรคเอดส์ให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข อบรมให้ความรู้ส่งเสริมกิจกรรมของเยาวชนรณรงค์ส่งเสริมการป้องกันและแก้ไขปัญหาเสพติดและโรคเอดส์อย่างจริงจังส่งเสริมกีฬาประชาชนประชาชนโดยจัดการแข่งขันกีฬาภายในตำบลประจำทุกปี4. สภาพทางสังคม
4.1 การศึกษา ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านตะโกมีความพร้อมทางด้านการศึกษาสูง มีสถานศึกษาที่ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่อยู่ 3 แห่ง เป็นส่วนสำคัญในการเสริมสร้างศักยภาพของประชาชนในพื้นที่ให้สามารถปรับตัวได้เท่าทันความเจริญด้านต่าง ๆ ที่หลั่งไหลเข้ามาอย่างรวดเร็ว
ปัจจุบันองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านตะโกยังไม่มีโรงเรียนในสังกัดแต่มีศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านตะโกจำนวน 2 แห่ง ไม่มีศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่ได้รับการถ่ายโอนจากหน่วยงานอื่นใด
ตารางที่ 2 โรงเรียนประถมศึกษา 3 แห่ง
ชื่อโรงเรียน | ปีการศึกษา | นักเรียนชาย | นักเรียนหญิง | รวม | หมายเหตุ |
โรงเรียนบ้านตะโกบำรุง | 2556 | 98 | 69 | 158 | |
2557 | 94 | 64 | 158 | ||
2558 | 87 | 63 | 150 | ||
โรงเรียนบ้านโชคกราด | 2556 | 64 | 62 | 126 | |
2557 | 58 | 60 | 118 | ||
2558 | 51 | 47 | 98 | ||
โรงเรียนบ้านเกต (สุตาประชาอุปถัมภ์) |
2556 | 63 | 59 | 112 | |
2557 | 60 | 58 | 118 | ||
2558 | 56 | 54 | 110 |
ข้อมูลศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านตะโก ได้จัดตั้งเอง มี 2 แห่ง ดังนี้
1. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านโสน จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2549 ตั้งอยู่ เลขที่ 107 หมู่ที่ 2 ต. บ้านตะโก อ.ห้วยราช จ. บุรีรัมย์ ปีงบประมาณ 2550 ได้รับรางวัลศูนย์พัฒนาเด็กเล็กดีเด่น ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และรางวัลศูนย์พัฒนาเด็กเล็กน่าอยู่ดีมากทุกปี ของสาธารณสุขอำเภอห้วยราช
2. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านเกตุใต้ จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 11 เมษายน 2550 ตั้งอยู่ เลขที่ 65
หมู่ที่ 8 ต. บ้านตะโก อ. ห้วยราช จ. บุรีรัมย์ ได้รับรางวัลศูนย์พัฒนาเด็กเล็กดีมาก ปี 2551-2552 ของสาธารณสุขอำเภอห้วยราช
ระบบบริการพื้นฐาน
5.1 การคมนาคมขนส่งองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านตะโกมีการคมนาคมทางบกคือ ทางรถยนต์และจักรยานยนต์เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งมีถนนสายหลักที่ใช้ในการคมนาคม จำนวน 2 สายคือ
- ถนนโยธาธิการ สายห้วยราช - เมืองไผ่ ผ่านหมู่บ้านในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านตะโก ระยะทางประมาณ 5 กิโลเมตร ผ่านหมู่ 1,2,3,4,5
- ถนน ร.พ.ช. สายห้วยราช - โคกตามุง ผ่านหมู่บ้านในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านตะโก ระยะทางประมาณ 5 กิโลเมตร ผ่านหมู่ 6,7,8,9
นอกจากนั้นก็มีเส้นทางเชื่อมระหว่างหมู่บ้านในเขต องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านตะโกส่วนใหญ่เป็นทางเกวียนถนนดินและหินคลุก การคมนาคมไม่ค่อยสะดวก โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝน เป็นหลุมเป็นบ่อเพราะถนนไม่ได้มาตรฐาน มีระยะทางรวมประมาณ 40 กิโลเมตร
5.2 การไฟฟ้า
องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านตะโก มีไฟฟ้าบริการในตำบล โดยคำนวณจากหลังคาเรือนทั้งตำบล พบว่ามีไฟฟ้าใช้ประมาณร้อยละ 93 อีกประมาณร้อยละ 7 ยังไม่มีไฟฟ้าใช้ ซึ่งมีการขอขยายเขตไฟฟ้าเขตเนื่องจากการแบ่งแยกครัวเรือน หรือเพื่อประกอบอาชีพ
5.3 การประปา
ยังไม่มีประปาจากส่วนภูมิภาค แต่มีประปาหมู่บ้านจำนวน 4 แห่ง ซึ่งเป็นระบบผิวดิน และสูบน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติมาเก็บกักไว้ในปลายฤดูฝน ปัจจุบันยังประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำ การแก้ปัญหาคือ หมู่บ้านจะขุดเจาะน้ำบาดาลเพื่อบรรเทาความเดือดร้อน และใช้รถยนต์บรรทุกน้ำเพื่อแจกจ่ายให้กับประชาชน และประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้การช่วยเหลือแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน ระบบประปาหมู่บ้านมีดังนี้
-ประปาหมู่บ้าน โคกโพธิ์ หมู่ที่ 3 ใช้ร่วมกับ บ้านตะโก หมู่ที่ 1
-ประปาหมู่บ้าน บ้านโสน หมู่ที่ 2
-ประปาหมู่บ้าน บ้านโชคกราด หมู่ที่ 4
-ประปาหมู่บ้านหมู่ที่ 7 บ้านเกตุเหนือ (แหล่งน้ำดิบในการผลิตไม่เพียงพอ ไม่มีแหล่งน้ำจากธรรมชาติในบริเวณใกล้เคียง)
5.4 โทรศัพท์
การสื่อสารในองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านตะโก ส่วนการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ ไม่มีตู้โทรศัพท์สาธารณะ
5.5 ไปรษณีย์หรือการสื่อสารหรือการขนส่ง และวัสดุ ครุภัณฑ์
ใช้การสื่อสารทางไปรษณีย์โดยการใช้บริการจากที่ทำการไปรษณีย์อำเภอห้วยราช หรือใช้บริการจากไปรษณีย์บุรีรัมย์ ซึ่งมีระยะทางหากจากองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านตะโก 16 กิโลเมตร5. ระบบบริการพื้นฐาน
5.1 การคมนาคมขนส่ง
องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านตะโกมีการคมนาคมทางบกคือ ทางรถยนต์และจักรยานยนต์เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งมีถนนสายหลักที่ใช้ในการคมนาคม จำนวน 2 สายคือ
- ถนนโยธาธิการ สายห้วยราช - เมืองไผ่ ผ่านหมู่บ้านในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านตะโก ระยะทางประมาณ 5 กิโลเมตร ผ่านหมู่ 1,2,3,4,5
- ถนน ร.พ.ช. สายห้วยราช - โคกตามุง ผ่านหมู่บ้านในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านตะโก ระยะทางประมาณ 5 กิโลเมตร ผ่านหมู่ 6,7,8,9
นอกจากนั้นก็มีเส้นทางเชื่อมระหว่างหมู่บ้านในเขต องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านตะโกส่วนใหญ่เป็นทางเกวียนถนนดินและหินคลุก การคมนาคมไม่ค่อยสะดวก โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝน เป็นหลุมเป็นบ่อเพราะถนนไม่ได้มาตรฐาน มีระยะทางรวมประมาณ 40 กิโลเมตร
5.2 การไฟฟ้า
องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านตะโก มีไฟฟ้าบริการในตำบล โดยคำนวณจากหลังคาเรือนทั้งตำบล พบว่ามีไฟฟ้าใช้ประมาณร้อยละ 93 อีกประมาณร้อยละ 7 ยังไม่มีไฟฟ้าใช้ ซึ่งมีการขอขยายเขตไฟฟ้าเขตเนื่องจากการแบ่งแยกครัวเรือน หรือเพื่อประกอบอาชีพ
5.3 การประปา
ยังไม่มีประปาจากส่วนภูมิภาค แต่มีประปาหมู่บ้านจำนวน 4 แห่ง ซึ่งเป็นระบบผิวดิน และสูบน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติมาเก็บกักไว้ในปลายฤดูฝน ปัจจุบันยังประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำ การแก้ปัญหาคือ หมู่บ้านจะขุดเจาะน้ำบาดาลเพื่อบรรเทาความเดือดร้อน และใช้รถยนต์บรรทุกน้ำเพื่อแจกจ่ายให้กับประชาชน และประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้การช่วยเหลือแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน ระบบประปาหมู่บ้านมีดังนี้
-ประปาหมู่บ้าน โคกโพธิ์ หมู่ที่ 3 ใช้ร่วมกับ บ้านตะโก หมู่ที่ 1
-ประปาหมู่บ้าน บ้านโสน หมู่ที่ 2
-ประปาหมู่บ้าน บ้านโชคกราด หมู่ที่ 4
-ประปาหมู่บ้านหมู่ที่ 7 บ้านเกตุเหนือ (แหล่งน้ำดิบในการผลิตไม่เพียงพอ ไม่มีแหล่งน้ำจากธรรมชาติในบริเวณใกล้เคียง)
5.4 โทรศัพท์
การสื่อสารในองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านตะโก ส่วนการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ ไม่มีตู้โทรศัพท์สาธารณะ
5.5 ไปรษณีย์หรือการสื่อสารหรือการขนส่ง และวัสดุ ครุภัณฑ์
ใช้การสื่อสารทางไปรษณีย์โดยการใช้บริการจากที่ทำการไปรษณีย์อำเภอห้วยราช หร</